แดง บัวแสน

แดง บัวแสน
ศิลปมหาบัณฑิต คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

แดง บัวแสน

แดง บัวแสน



พ่อผมท่านเป็นช่าง ท่านสนใจในพุทธศาสนา ความรู้เชิงช่างของท่านได้มาจากการคลุกคลีกับวัด ช่วยสร้างโบสถ์ วิหาร กุฏิ 

รวมถึงประติมากรรมและจิตรกรรมต่างๆ

จุดเริ่มความสนใจงานศิลปะของผมคือการได้ซึมซับสิ่งเหล่านี้มาจากพ่อ ได้เห็นวัดต่างๆ ที่ท่านตะลอนพาผมไปด้วยตั้งแต่ยังเล็ก จึงรู้ตัวว่าชอบงานศิลปะมาตั้งแต่นั้น


พอได้เข้าศึกษาที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โลกศิลปะของผมถูกเปิดกว้าง ผลงานช่วงนั้นจึงเป็นงานสื่อผสมที่มีลักษณะของประติมากรรม ผสานการใช้สีแบบจิตรกรรม จนได้รางวัลเหรียญทองสาขาสื่อผสมในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 44 ..2541 ด้วยผลงานชื่อ "สภาวะความเสื่อมถอยและโดดเดี่ยวในสังคม" เนื้อหาว่าด้วยเรื่องของคนเร่ร่อนที่พบเห็นได้ทั่วไปในสังคมเมืองขณะนั้น

ประกอบกับผมเองเป็นเด็กต่างจังหวัดที่ต้องจากบ้านมา จึงรู้สึกว่าได้รับแรงกระทบสะเทือนใจกับภาพเหล่านั้นเป็นพิเศษ และได้ใช้แรงบันดาลใจและความรู้สึกเหงาโดดเดี่ยว ช่วงเวลานั้นสะท้อนออกมาทางผลงาน จวบจนสำเร็จปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ความรู้สึกนี้จึงค่อยจางหายไปด้วยวุฒิภาวะที่เข้าใจในชีวิตมากขึ้น

ปกติการสร้างงานศิลปะของผม ผมจะใช้ความรู้สึกเป็นตัวนำ เป็นการสื่อสารออกมาจากภายใน เมื่อใดที่ความรู้สึกนั้นเหือดหายไป ผมก็ไม่สามารถทำงานในลักษณะเดิมได้อีก จึงเปลี่ยนมาทำงานแบบจิตรกรรมด้วยสีอะคริลิก และสีน้ำมันบนผ้าเรียบๆ ธรรมดา ช่วงระยะเปลี่ยนผ่านนี้เองผมก็ได้รับเลือกให้ไปแสดงงาน ‘The 3rd Fukuoka Asian Art Triennale 2005’ ที่ประเทศญี่ปุ่น

แม้จะทำงานด้านสื่อผสมเป็นหลัก แต่ด้วยความชอบส่วนตัว ผมฝึกฝนทักษะการวาดสีนำ้มันและสีอะคริลิกควบคู่มาโดยตลอด กระทั่งเมื่อแน่ใจว่าสามารถรับใช้จินตนาการความคิดที่มี จึงเปลี่ยนรูปแบบมาเป็นงานจิตรกรรมเพียงอย่างเดียว แล้วย้อนกลับไปยังแนวคิดแรกเริ่มคือ ความผูกพัน ความเชื่อในวิถีชีวิตแบบพุทธ และงานพุทธศิลป์ที่เชื่อมโยงผมกับศิลปะมาตั้งแต่วัยเด็ก ผมหยิบหลักการจัดองค์ประกอบภาพของภาพถ่าย และมุมมองแบบภาพยนตร์มาใช้ ซึ่งด้วยเทคโนโลยีหรือเครื่องมือจะทำให้เกิดเป็นภาพที่แปลกตา กลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้างงานของผม ทั้งยังช่วยให้เนื้อหาภาพซึ่งเป็นเรื่องราวในอดีต มีความร่วมสมัยขึ้น

และนิทรรศการเดี่ยวครั้งที่ 3 ผันแปรตามกาล คือการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน รูปแบบอาจไม่ได้ข้องเกี่ยวกับงานพุทธศิลป์โดยตรงดังที่ผ่านมา แต่ก็แฝงไว้ด้วยพุทธปรัชญา คือความไม่จีรัง ยั่งยืน ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้แน่นอน องค์ประกอบภาพดูเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนแปลกตา เพื่อเน้นสาระความงามให้ปรากฏเด่นชัดมากที่สุด และพูดถึงความจริงมิใช่อุดมคติ ซึ่งชุดความจริงของแต่ละคนนั้นอาจแตกต่างกันไป ดังนั้นผลงานชุดนี้ของผมจึงไม่ได้อธิบายความหมายในแต่ละภาพอย่างชัดเจน แต่เว้นที่ว่างเพื่อให้เกิดการตีความ ให้ค่าและความหมาย ตามแต่ที่หัวใจจะมอง...



การศึกษา

..คำสร้อยวิทยาสรรค์

ปวช-วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

.ตรี-สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

.โท-มหาวิทยาลัยศิลปากร


รางวัล

รางวัลเหรียญทองสาขาสื่อผสมในการประกวดศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ 44 ..2541

แสดงงาน ‘The 3rd Fukuoka Asian Art Triennale 2005’ ที่ประเทศญี่ปุ่น