เทคนิค : หล่อไฟเบอร์กลาส
ขนาด : หน้าตัก 48 cm
ฉบับ : AP
ปี : 3096
สถานที่ : โถงพระธาตุ หอธรรมพระบารมี
ประวัติพระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต เมื่อพุทธศักราช 2553 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อพระพุทธรูปว่า “พระพุทธปฏิมา สิริภานิรมิต” และพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ “ภปร” ประดิษฐานบนกลีบบัว ในตำแหน่งผ้าทิพย์ในการนี้สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระเมตตารับเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์เป็นประธานฝ่ายฆราวาส พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริภาจุฑาภรณ์ เสด็จไปทรงกราบนมัสการพระเถรานุเถระต่าง ๆ เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ และทรงรับมวลสารวัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์สำหรับอัญเชิญมาทรงประกอบพิธีเททองหล่อ"พระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต"เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลแด่ประชาชนที่ได้ร่วมเช่าบูชา (รายละเอียดเป็นรูปในอัลบั้ม)พระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต หล่อด้วยโลหะบรอนซ์ มีพุทธลักษณะปางมารวิชัยประทับนั่งขัดสมาธิเพชร (วัชรอาสน์) เกศบัวตูม ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบพระเชียงแสน แบบสิงห์หนึ่ง ผสมผสานกับพุทธลักษณะศิลปะแบบคุปตะของอินเดีย ทวารวดี ศรีวิชัย และศิลปะแบบ หริภุญชัย ลำพูน ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายอัญเชิญอักษรพระปรมาภิไธย ภปร บนกลีบบัว ในตำแหน่งผ้าทิพย์เปรียบดังดอกบัวกำลังผุด สื่อความหมายถึงการเจริญเติบโต เบิกบาน สัญลักษณ์รูปงูที่ปรากฏบนฐาน สื่อถึงเรื่องราวตอนมารผจญในพุทธประวัติกึ่งกลางฐานมีประติมากรรมรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมอยู่ตำแหน่งแนวตรงกันกับองค์ประธาน อักษรพระปรมาภิไธย ภปร และนักษัตรปีเถาะ ซึ่งเป็นปีพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร แสดงถึงความหมายของกาลเวลาและความเชื่อ ทั้งนี้ประติมากรต้องการออกแบบให้พระพุทธปฏิมาสิริภานิรมิต เป็นพระที่บ่งบอกถึงยุคสมัยในการสร้าง จึงมีความแตกต่างจากประเพณีนิยมที่เคยทำมา นิทรรศการ : ธรรมราชา (
คลิกดูนิทรรศการ >)
สถานะ : ปิดการจอง