เทคนิค : ไฟเบอร์กลาส
ขนาด : 6.35 x 6.35 x 3.5 m.
ปี : 2552
มุลค่า : 3,000,000.00 บาท
จิต....สมาธิ ความคิดเรื่องจิตและสมาธิเป็นองค์ความรู้ที่มาจากการวิเคราะห์เรื่องจิตในพระอภิธรรม ซึ่งกล่าวถึงจิตอันเป็นอมตะของมนุษย์ที่ไม่ดับสลายไปตามสังขาร ในพระคัมภีร์พุทธศาสนาอธิบายว่า สังขารของมนุษย์มีจิตครองอยู่ถึง 121 ดวง
ดวงจิตเหล่านี้ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม
1. จิตอันเป็นอกุศล
2. จิตอันเป็นกุศล
3. จิตอันบริสุทธิ์
จิตเหล่านี้ไม่อยู่นิ่งและหวั่นไหวไปตลอดเวลา
"ดังนั้น ในการควบคุมจิตไม่ให้เบี่ยงเบนไปทางอกุศล แต่ให้มุ่งไปสู่กุศลจิตเพื่อบรรลุถึงจิตอันบริสุทธิ์ มนุษย์จึงต้องพยายามเจริญสมาธิเพื่อควบคุมจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในความมีสติ เพราะสมาธิเป็นหนทางนำไปสู่ปัญญานั่นเอง"
แนวคิดดังกล่าวนำไปสู่การแสวงหาองค์ประกอบที่เป็นสัญลักษณ์แทนค่าองค์ความรู้ที่เป็นนามธรรมนี้ ศิลปินหยิบยืมรูปทรงที่ปรากฎในพุทธศิลป์ไทย เช่น
เจดีย์และระฆัง แปรสภาพให้เรียบง่ายเพื่อสร้างองค์ประกอบที่เป็นสื่อสัญลักษณ์ในงานประติมากรรมของเขา สัญลักษณ์นี้เป็นสิ่งที่ พุทธศาสนิกชนรู้จักและคุ้นเคยกันดีอยู่แล้วจากพุทธศิลป์ของไทย
กุมารน้อยในท่านั่งสมาธิ แทนค่าดวงจิตแต่ละดวงที่อยู่ในสภาวะแห่งการเจริญสมาธิ ซึ่งเชื่อกันว่ากุมารทอง เป็นเทพผู้มีบุญอันเป็นทิพย์คอยหล่อเลี้ยง
กุมารในท่านั่งสมาธิ 121 องค์ แทนค่าจิตทั้ง 121 ดวง
อกุศลจิต มีจำนวนค่อนข้างมาก ซึ่งวางเรียงรายบริเวณชั้นนอกสุดของพื้นที่สี่เหลี่ยม
กุศลจิต มีจำนวนไม่มาก ถูกจัดวางเป็นวงกลมล้อมรอบ องค์ระฆังของเจดีย์ แสดงถึงความเพียรพยายามของจิตในการปลูกสมาธิ
จิตอันบริสุทธิ์ กุมารสีขาวบริสุทธิ์ ตั้งอยู่บนยอดขององค์ระฆังสีทอง เป็นสัญลักษณ์ของดวงจิตอันบริสุทธิ์
นิทรรศการ : 29 National artists 29 Baramee of Art (
คลิกดูนิทรรศการ >)
สถานะ : ปิดการจอง